เมนู

3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม.

อาวุธ 3


1. สุตาวุธ อาวุธ คือการฟัง
2. ปวิเวกาวุธ อาวุธ คือความสงัด
3. ปัญญาวุธ อาวุธ คือปัญญา.

อินทรีย์ 3


1. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติ
ด้วยคิดว่า เราจักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้
2. อัญญินทรีย์ อินทรีย์ คือความรู้
3. อัญญาตาวินทรีย์ อินทรีย์ในธรรมที่รู้แล้ว.

จักษุ 3


1. มังสจักขุ ตาเนื้อ
2. ทิพยจักขุ ตาทิพย์
3. ปัญญาจักขุ ตาคือปัญญา.

สิกขา 3


1. อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลยิ่ง
2. อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตยิ่ง
3. อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญายิ่ง.

ภาวนา 3


1. กายภาวนา การอบรมกาย
2. จิตตภาวนา การอบรมจิต
3. ปัญญาภาวนา การอบรมปัญญา.

อนุตตริยะ 3


1. ทัสสนานุตตริยะ ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม
2. ปฏิปทานุตตริยะ ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม
3. วิมุตตานุตตริยะ ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม.

สมาธิ 3


1. สวิตักกวิจารสมาธิ สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร
2. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
3. อวิตักกวิจารสมาธิ สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร.

สมาธิอีก 3


1. สุญญตสมาธิ สมาธิที่ว่างเปล่า
2. อนิมิตตสมาธิ สมาธิที่หานิมิตมิได้
3. อัปปณิหิตสมาธิ สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้.

โสเจยยะ 3


1. กายโสเจยยะ ความสะอาดทางกาย
2. วจีโสเจยยะ ความสะอาดทางวาจา
3. มโนโสเจยยะ ความสะอาดทางใจ.

โมนยยะ 3


1. กายโนเนยยะ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย
2. วจีโมเนยยะ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา
3. มโนโมเนยยะ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ.